พี่น้ำอุ่น

ด.ญ.สุวรรณนรี พิษณุวงค์ (พี่น้ำอุ่น)  ตามเกณฑ์ : เรียนรู้ช้า /ภาษาไทย  คณิตศาสตร์ การคิด ทักษะสังคม ทักษะชีวิต    (ยังเรียนรู้และทำงานด้วยตนเองยังไม่ได้)           
ปีการศึกษา ๒๕๕๗


        สภาพครอบครัว : พ่อ แม่อยู่ด้วยกัน พ่อทำธุรกิจส่วนตัว (บ้านจัดสรร) คุณพ่อไม่คาดหวัง ขอเพียงให้ลูกมีความสุข ไม่อยากกดดันลูก อยู่ที่บ้านตามใจ พี่น้ำอุ่นอาศัยอยู่กับพ่อแม่ ที่ลำปลายมาศ ครอบครัวมีพี่น้องสามคน พี่น้ำอุ่นเป็นพี่สาวคนโต มีน้องสาวสองคน (แม่กำลังตั้งท้องลูกคนที่สี่)  ที่บ้านพี่น้ำอุ่นจะมีพี่เลี้ยงและครูมาสอนพิเศษคณิตศาสตร์กับภาษาไทย บางครั้งอาม่า (ย่า) จะเป็นคนช่วยดูแลเรื่องการบ้านบ้าง พ่อแม่ไม่ค่อยได้ดูแลเรื่องการบ้านและการพัฒนาส่งเสริมที่บ้าน  จากการพูดคุยสอบถามจากผู้ปกครองและตัวพี่น้ำอุ่น เวลาส่วนใหญ่ที่อยู่ที่บ้านคือเล่น เช่นเล่นกับน้อง อยู่กับเกม กับไอแพด
พัฒนาการ
พัฒนาการร่างกาย : การเคลื่อนไหวร่างกายกล้ามเนื้อมัดใหญ่ยังไม่คล่องทั้งเดิน วิ่งและกระโดด ล้มง่าย ยังต้องพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็ก (ตอนนี้สามารถทำงานที่ละเอียดและประณีตได้ดีขึ้น) ความสัมพันธ์มือ ตา มีพัฒนาการที่ดีสามารถมองตัวหนังสือและเขียนตามได้ดี (ยังต้องเป็นอักษรตัวโตๆ) ร่าเริง อารมณ์ดี ขาดเรียนบ่อยเพราะป่วยและจะหยุดพักเวลาป่วยนาน เมื่อกลับมาเรียนต้องทบทวนสิ่งเก่าก่อนเพราะลืม ชอบการแสดง กล้าแสดงออก (เต้นเก่ง)
ทักษะภาษา
ทักษะด้านฟัง/การพูด : พี่น้ำอุ่นสามารถฟังเรื่องเล่า นิทานได้ ชอบฟัง  แต่ยังสรุปเรื่องอย่างเป็นลำดับไม่ได้ ยังไม่สามารถเล่าเรื่องราวต่างๆทั้งชีวิตประจำวันหรือสิ่งที่ตนเองทำ อย่างเป็นลำดับได้ ครูต้องถามกระตุ้นไปทีละเรื่อง การพูดนำเสนอหรือการสื่อสารเรื่องราวต่างๆต้องพูดถามด้วยประโยคสั้นๆที่ละเรื่องจึงจะสามารถตอบได้ เวลาตอบจะไม่เป็นการเล่า แต่จะเป็นการตอบเป็นคำๆหรือประโยคสั้นๆ เช่น เมื่อวานทำไมพี่น้ำอุ่นไม่ได้มาโรงเรียนคะ : หนูอยู่บ้านค่ะ(ไม่อธิบายต่อ) /ทำไมได้อยู่บ้านล่ะคะเกิดอะไรขึ้น : แม่ไม่สบายค่ะ...เวลาพูดจะยิ้มๆและยังไม่ค่อยกล้าสบตา จะหันไปทางอื่นหรือก้มมองพื้นเป็นส่วนใหญ่(เขินอายเวลาตอบคำถาม) เวลาครูคุยด้วยครูจะคอยกระตุ้นให้ได้สบตากันเวลาพูด การพูดแสดงความคิดเห็นหรือแลกเปลี่ยนเรื่องที่ฟัง เรื่องที่ครูถามจะกล้ายกมือขอพูดดีมาก แต่การพูดนั้นส่วนใหญ่ยังสื่อไม่ตรงกับเรื่องที่กำลังแลกเปลี่ยน (บางครั้งก็ยกมือเฉยๆแต่เวลาครูเชิญจะไม่พูด **แม้ครูจะเชิญเป็นคนแรกๆเพราะกลัวพี่จะลืม)
ทักษะด้านการอ่าน: พี่น้ำอุ่นไม่ชอบอ่านออกเสียง เวลาไม่อยากอ่านจะไม่ยอมสะกดเลย สามารถสะกดอ่านคำแม่ ก กา และคำที่มีตัวสะกดตรงมาตรา ที่เป็นสระเดี่ยวได้ด้วยตนเองแต่ยังไม่คล่อง ไม่อยากอ่านออกเสียงเพราะไม่มั่นใจ (ตอนนี้กล้าออกเสียงและกล้าสะกดมากขึ้น)ครูยังต้องคอยกระตุ้นและนำสะกด(ถ้าไม่มั่นใจจะหยุดออกเสียงไปเลย ครูต้องให้เวลาและผ่อนคลาย) จับใจความสำคัญของเรื่องที่อ่านยังไม่ได้ ครูต้องกระตุ้นถามไปทีละเรื่องเช่น ตัวละครมีใครบ้าง  พี่ชอบตัวไหน เพราะอะไรจึงชอบ เป็นต้น ถ้าให้อ่านเองจะไม่อ่านเลยครูยังต้องพาอ่านหรือนั่งอยู่ด้วยคอยกระตุ้นจึงจะอ่าน
ทักษะด้านการเขียน : พี่น้ำอุ่นรู้จักพยัญชนะและสระยังไม่ครบทุกตัวจะสามารถเขียนได้ตัวที่เขียนหรือใช้บ่อยๆ เขียนชื่อจริง นามสกุล ชื่อเล่นตนเองได้ สะกดเขียนเองได้คือมาตราแม่ ก กา และสะกดเขียนคำที่มีตัวสะกดสระเดี่ยวได้ ลายมือเรียบร้อยสวยงาม  ผันวรรณยุกต์ยังไม่คล่องต้องคอยช่วย การเขียนบางครั้งยังเขียนกลับ เช่น ย กลับด้าน  ค  เป็น ด เขียนตัวเลขไทยยังไม่คล่อง เนื่องจากพี่น้ำอุ่นขาดเรียนบ่อยและขาดการส่งเสริมต่อจากที่บ้าน การบ้านไม่ค่อยได้ทำ ทำให้การเขียน การอ่านช้าลงครูต้องพาทบทวนเรื่องเก่าก่อน(พยัญชนะ /สระผสม)
ทักษะการคิดและคณิตศาสตร์
สามารถบวกลบ เลขหลักสิบ หลักหน่วยจำนวนน้อยๆได้โดยใช้อุปกรณ์ได้ (เม็ดมะขาม หน่วยจิ๋ว แท่งสิบ) ช่วง Q.3 และต้น Q.4 สามารถหยิบจำนวนได้ดีขึ้น แต่ช่วงปลาย Q. 4 (หลังจากหยุดเรียนเพราะไม่สบายเกือบสองสัปดาห์) ครูต้องพาเริ่มต้นใหม่เพราะช้าลง การคิดเชิงแบบรูปยังจับไม่ได้ต้องพัฒนาซ้ำๆบ่อยๆ ยังไม่เข้าใจเรื่องจำนวน
แบบบันทึกการเรียนรู้และการพัฒนา
ด.ญ.สุวรรณนรี พิษณุวงค์  ชื่อเล่น  พี่น้ำอุ่น   ชั้น ป.๒ ปีการศึกษา ๒๕๕๘



ปัญหา

- ภาษาไทย : อ่าน – เขียน ด้วยตนเองยังไม่ได้
- คณิตศาสตร์ (ไม่รู้จักจำนวน การเรียงลำดับ ค่าของตัวเลขหยับไม่ได้ นับเกิน เขียนจำนวนตามคำอ่านยังไม่คล่อง)

สิ่งที่บ่งบอกว่าเป็นปัญหา (อาการ)
ภาษาไทย
อ่าน-เขียนด้วยตนเองยังไม่ได้
-อ่านออกเสียงและสะกดอ่านเป็นคำได้น้อย (สะกดอ่านได้เพียงแม่ ก กาสระเดี่ยว ตัวสะกดตรงมาตราเฉพาะคำที่พบบ่อยๆ)
-เขียนงานโดยใช้คำ ประโยคสั้นๆรวมทั้งเรียบเรียงคำผ่านการเขียนด้วยตนเองไม่ได้
-ประสมสระ-พยัญชนะยังไม่ได้(สระผสม)
คณิตศาสตร์
-หยิบ หรือนับจำนวนตามตัวเลขหรือตามคำบอกยังไม่ได้ (จะนับต่อเนื่องไปเรื่อยๆ)
- หยิบเพิ่ม หยิบออกที่จำนวนหลักสิบขึ้นไปยังไม่ได้


ต้นทุน











ต้นทุน





เด็ก






ข้อดี




ข้อดี
-จิตใจดี อารมณ์ดี เข้ากับเพื่อนได้ ชอบการแสดง (เต้น)
-ชอบวาดรูป สื่อสารด้วยการวาดรูปได้
-ชอบแสดงความคิดเห็น (ยกมือทุกครั้งที่ครูและเพื่อนๆแลกเปลี่ยน)
ภาษาไทย
- รู้จักพยัญชนะ เขียนตามเสียงได้ ออกเสียงได้ เช่น เสียง ปอ =ป   นอ = น   พอ = ฯลฯ
- สะกดอ่าน – สะกดเขียนคำแม่ ก กา สระเดี่ยว (อะ อา อี อี  อุ อู ไอ ใอ โอ แอ เอ ออ )เขียนเป็นคำได้ (คำที่อ่านและเขียนบ่อยๆ) เช่น วัน กับ ฉัน กิน ข้าว ฯลฯ
- สนทนา สื่อสารในชีวิตประจำวัน เล่าเรื่องราวต่างๆได้
คณิตศาสตร์
-รู้จักและเขียน อ่านตัวเลขอารบิกได้ครบทุกตัว (เขียนไทยยังไม่ได้)
- นับเลขต่อเนื่องได้
-หยิบเพิ่ม หยิบออกจำนวนในหลักหน่วยได้
-บวกเพิ่มเลขหลักหน่วยได้ (ต้องใช้อุปกรณ์ช่วยนับ)

อุปสรรค

- ไม่กล้าตัดสินใจ (รอ) / ตัดสินใจช้า
- เคลื่อนไหวไม่คล่องตัว
-  ไม่อยากอ่าน – เขียน (มักบ่นเมื่อต้องอ่านและเขียนแต่ไม่โวยวาย)
- การคิดวิเคราะห์ (คณิต ไทย)
- แก้ปัญหาการเรียนหรือการทำงานยังรอคนช่วย (ติดคำ “หนูไม่รู้ค่ะ” )



ผู้
ปกครอง



ข้อดี

-มีความพร้อมในเรื่องของเศรษฐกิจ (การเงิน)
- ไม่คาดหวังในตัวลูก  (พ่อ แม่)
- อยากให้ลูกได้เรียนรู้อย่างมีความสุข ไม่กดดัน

อุปสรรค

-ไม่เข้าใจกระบวนการเรียนรู้ในแนวทางของโรงงเรียน
-ไม่มีเวลาดูแลและพัฒนาลูกต่อที่บ้าน
- การพัฒนา ส่งเสริมที่บ้านไม่ต่อเนื่อง (ครูพิเศษและย่า)
- ตามใจลูก
วิธีการพัฒนา(กระบวนการ)
-ขั้นตอน
-ระยะเวลา
(Model)

ขั้นตอน
-ครูสำรวจ เช็คสภาพ ต้นทุน
-เรียนรู้ร่วมกับเพื่อนในชั้นเรียน
-วางแผนร่วมกับผู้ปกครอง
-แยกเรียนเฉพาะวิชาพื้นฐาน
      - ภาษาไทย ทุกวัน วันละ ๑ ชั่วโมง
        - ฝึกอ่านหนังสือทุกวันทั้งที่บ้านและโรงเรียน (แม่ ก กา และตัวสะกดตรงมาตรา)
        - ฝึกเขียน ผ่านการทำแบบฝึกหัด ทั้งที่บ้านและโรงเรียน
      - คณิตศาสตร์ วันละ ๑ ชั่วโมง
      - ค่าตัวเลข (รู้ค่าตัวเลข อ่าน เขียน หยิบได้ถูกต้อง)
       - บวก ลบ เลขหนึ่งและสองหลักผ่านการแก้โจทย์ แบบฝึกหัด เกม
ระยะเวลาการพัฒนา
Quarter ๑ ปีการศึกษา (๒๕๕๘)
ผลการพัฒนา 
(ข้อบ่งชี้ว่าคุณลักษณะนั้นๆพัฒนา)

เชิงปริมาณ



เชิงคุณภาพ

ข้อเสนอแนะในการพัฒนาต่อ



แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้


สัปดาห์ที่ ๓ วันที่ ๒๕ – ๒๙ พ.ค. ๒๕๕๘
วัน
ภาษาไทย
คณิตศาสตร์






จันทร์
สระ เอาะ
เป้าหมาย
- นักเรียนรู้จักสระเอาะ
- เข้าใจและสามารถประสมและอ่านคำสระ เอาะได้
กิจกรรม
-ครูทักทายนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับคำสระ โดยการให้ดูสระ เอ สระ อา สระ อะ แล้วยกตัวอย่างคำ
จำนวนและตัวเลข (การบวก การลบเลขหนึ่งและสองหลัก)
- บวกโดยการกระจาย
- ลบโดยการกระจ่าย
เป้าหมาย
- นักเรียนรู้ค่าตัวเลข อ่านค่าและนำไปใช้ได้
- สามารถบวก ลบเลขหนึ่งหลักและสองหลักได้
กิจกรรม
- ทบทวนค่าของตังเลข
- ทำแบบฝึก โดยการกระจาย นักเรียนทำแบบฝึกโดยการบูรณาการเขียนคำอ่านคู่กับตัวเลข







อังคาร
สระ เอาะ
เป้าหมาย
- นักเรียนรู้จักสระเอาะ
- เข้าใจและสามารถประสมและอ่านคำคำสระเอาะได้
กิจกรรม
- ทบทวนสระเอาะ ฝึกอ่าน ฝึกออกเสียง โดยครูและนักเรียนช่วยกันยกตัวอย่างอักษรที่ประสมกับสระเอาะแล้วมีความหมาย
- ผลไม้ที่เป็นสระเอาะ  “เงาะ” นกเรียนเชื่อมโยงคำที่ผสมกับเงาะเป็นแผนภาพความคิด

จำนวนและตัวเลข (การบวก การลบเลขหนึ่งและสองหลัก)
-           บวกโดยการกระจาย
-           ลบโดยการกระจ่าย
เป้าหมาย
- นักเรียนรู้ค่าตัวเลข อ่านค่าและนำไปใช้ได้
- สามารถบวก ลบเลขหนึ่งหลักและสองหลักได้
กิจกรรม
- ทบทวนค่าของตังเลข
- ทำแบบฝึก โดยการกระจาย นักเรียนทำแบบฝึกโดยการบูรณาการเขียนคำอ่านคู่กับตัวเลข







พุธ
การเขียนสร้างสรรค์
เป้าหมาย
-ถ่ายทอดความคิดจินตนาการสร้างสรรค์
กิจกรรม
-ครูวาดภาพบนกระดาน ถามนักเรียน เห็นคำว่าอะไรบ้าง นักเรียนช่วยกันตอบ
-วาดภาพที่สนใจตามจินตนาการ แล้วเขียนคำที่พบในภาพ
-นำเสนอผลงาน
จำนวนและตัวเลข (การบวก การลบเลขหนึ่งและสองหลัก)
-           บวกโดยการกระจาย
-           ลบโดยการกระจ่าย
เป้าหมาย
- นักเรียนรู้ค่าตัวเลข อ่านค่าและนำไปใช้ได้
- สามารถบวก ลบเลขหนึ่งหลักและสองหลักได้
กิจกรรม (ใช้สื่อการนับ)
-หยิบเมล็ดยาง ๑๐ เมล็ด นำเมล็ดยางมาจับคู่๑๐ โดยครูตั้งคำถาม
คำถาม
คู่๑๐ มีคู่ใดบ้าง – จับคู่ได้กี่คู่ – กองละสามเมล็ดได้กี่กอง เหลือเศษเท่าไร – กองละ๔เมล็ดได้กี่กอง เหลือเศษเท่าไร – กองละ๕เมล็ดได้กี่กอง ฯลฯ โดยนักเรียนเป็นผู้หยิบ

พฤหัสบดี
สระ เอาะ
เป้าหมาย
- นักเรียนรู้จักสระเอาะ
- เข้าใจและสามารถประสมและอ่านคำคำสระเอาะได้
กิจกรรม
- ทบทวนสระเอาะ ฝึกอ่าน ฝึกออกเสียง โดยครูและนักเรียนช่วยกันยกตัวอย่างอักษรที่ประสมกับสระเอาะแล้วมีความหมาย
- แต่งประโยคจากภาพที่วาดไว้โดยใช้คำสระ เอาะ (นักเรียนเลือกคำเอง๕คำ)
จำนวนและตัวเลข (การบวก การลบเลขหนึ่งและสองหลัก)
-           บวกโดยการกระจาย
-           ลบโดยการกระจ่าย
-           โจทย์ปัญหา
เป้าหมาย
- นักเรียนรู้ค่าตัวเลข อ่านค่าและนำไปใช้ได้
- สามารถบวก ลบเลขหนึ่งหลักและสองหลักได้
- นักเรียนเข้าใจและสามารถวิเคราะห์ และแก้โจทย์ปัญหาได้
กิจกรรม
-ทบทวนค่าของตัวเลขจากตาราง ๑๐๐
-วิเคราะห์แก้โจทย์ “ปีนี้เดือนมีนาคมกับเดือนเมษายนรวมกัน มีจำนวนวันมากกว่าเดือนกุมภาพันธ์ ๓๓ วัน ปีนี้เดือนกุมภาพันธ์มีกี่วัน









ศุกร์
สระ เอาะ
เป้าหมาย
- นักเรียนรู้จักสระเอาะ
- เข้าใจและสามารถประสมและอ่านคำคำสระเอาะได้
กิจกรรม
- ทบทวนสระเอาะ ฝึกอ่าน ฝึกออกเสียง โดยครูและนักเรียนช่วยกันยกตัวอย่างอักษรที่ประสมกับสระเอาะแล้วมีความหมาย
- แต่งเรื่องสร้างสรรค์โดยใช้คำสระ เอาะ (นักเรียนเลือกคำเอง๕คำ)
จำนวนและตัวเลข (การบวก การลบเลขหนึ่งและสองหลัก)
-           บวกโดยการกระจาย
-           ลบโดยการกระจ่าย
-           โจทย์ปัญหา
เป้าหมาย
- นักเรียนรู้ค่าตัวเลข อ่านค่าและนำไปใช้ได้
- สามารถบวก ลบเลขหนึ่งหลักและสองหลักได้
- นักเรียนเข้าใจและสามารถวิเคราะห์ และแก้โจทย์ปัญหาได้
กิจกรรม
-ทบทวนค่าของตัวเลขจากตาราง ๑๐๐
-ฝึกการตั้งโจทย์
คำถาม
-คำตอบคือ ๔๕ จะสร้างโจทย์ปัญหาอย่างไร
-คิดและสร้างโจทย์เอง



ตัวอย่างชิ้นงานและกิจกรรม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น