พี่ปุ๊ปปั๊ป

พี่ปุ๊ปปั๊ป (ด.ช. ภค  ไพศาลธนากร) อายุ ๖ ปี ก่อนเกณฑ์ : ไม่รับรู้อารมณ์ จัดการและดูแลตนเองไม่ได้ 
ปีการศึกษา ๒๕๕๗


             พี่ปุ๊ปปั๊ปอาศัยอยู่กับแม่ซึ่งเป็นคนเลี้ยงหลัก พ่อไปทำงานต่างจังหวัดไม่ค่อยได้กลับบ้านถ้ากลับจะเป็นวันอาทิตย์ วันจันทร์ มีพี่สาว ๑ คนเรียนอยู่ชั้นม.๔  พี่ปั๊ปเป็นเด็กที่ชอบพูด พูดเก่ง ความจำดี อัธยาศัยดี เข้ากับผู้อื่นได้ง่าย (ชอบเล่าเรื่องต่างๆให้ฟัง ตอบคำถาม และแสดงความคิดเห็นต่อเรื่องต่างๆโดยใช้ความคิดของตนเองได้อย่างมั่นใจ) เวลาสอนการบ้าน หรือช่วยแนะนำงานค่อนข้างใจร้อนและจะใช้เสียงดัง อารมณ์เสียง่าย ขี้หงุดหงิด เวลาสอนงานหรือการบ้านแม่มักจะสั่งและใช้อารมณ์ พี่ปั๊ปมักแสดงอารมณ์ฉุนเฉียวกับแม่เช่นกันเวลาไม่พอใจ กับเพื่อนๆก็มีใช้ความรุนแรงบ้างหากเป็นผู้ถูกกระทำก่อน(จะใช้การตีก่อนคำพูด) แม่พาพี่ปั๊ปไปพบแพทย์หลายครั้งเนื่องจากคิดว่าพี่เป็นเด็กสมาธิสั้นและเคยให้พี่ปั๊ปทานยาแต่เนื่องจากแพ้ยาจึงหยุดกิน ล่าสุดมีหมอยืนยันว่าพี่ปั๊ปปกติในด้านอารมณ์และภาวะสมอง แต่มีปัญหาเรื่องของต่อมไร้ท่อที่มีผลต่อการเติบโตของร่างกาย และกระดูก (เป็นเด็กที่ตัวเล็ก) อยู่ที่โรงเรียนพี่ปั๊บร่าเริงแจ่มใส คุยเก่ง คุยได้ตลอดเวลาและชอบชวนผู้อื่นคุยด้วย ความจำดี ชอบฟังนิทาน เรื่องเล่า สนทนาโต้ตอบกับผู้อื่นได้ดีลำดับเรื่องราวได้ (เวลาฟังนิทานหรือเรื่องเล่าจะนิ่งมาก) ทำงานด้วยตนเองไม่ได้ ต้องมีครูประกบและอยู่ในสิ่งแวดล้อมปิดจึงจะสามารถทำกิจกรรมได้แต่วอกแวกง่าย ยังเริ่มต้นทำงานเองไม่ได้  ครูต้องคอยกระตุ้นอยู่ตลอดเวลา
พัฒนาการ
พัฒนาการร่างกาย : พี่ปุ๊ปปั๊บเป็นเด็กตัวเล็กเคลื่อนไหวร่างกายยังไม่คล่อง เวลาวิ่งเดินก็ยังไม่คล่อง  กล้ามเนื้อมัดเล็กยังไม่แข็งแรงเวลาเขียน หรือวาดรูปลายมือยังไม่สม่ำเสมอ น้ำหนักมือเบา ใช้ส่วนของข้อมือยังไม่คล่องลงนำหนักมือได้ไม่นานเพราะจะบ่นว่าเจ็บก็จะหยุด (หมอแนะนำให้ใช้ปลอกช่วยจับ/ใช้๒วันก็หยุดใช้) รับ ส่งบอลยังไม่คล่อง
ทักษะภาษา
ทักษะด้านฟัง/พูด : พี่ปั๊ปสามารถพูดคุยโต้ตอบ สนทนาแลกเปลี่ยนกับผู้อื่นได้ดี เล่าเรื่องราวได้อย่างเป็นลำดับขั้นตอน ยังต้องพัฒนาเรื่องการรับรู้อารมณ์ของผู้อื่นขณะฟังหรือพูด ซึ่งเวลาสนทนากันหากผู้อื่นพูดอยู่บางครั้งพี่จะพูดแทรก หรือถามคำถามทันทีโดยไม่หยุดรอ ไม่สบตา เวลาเรียกจะไม่ค่อยหยุดรอ (วิ่งหนีไปเลย)
ทักษะด้านการอ่าน: อ่านเป็นคำ เป็นประโยคสั้นๆ เป็นเรื่องสั้นๆคำง่ายๆได้เอง ไม่ชอบอ่านออกเสียง สะกดอ่านคำแม่ ก กาสระเดี่ยวและคำสระเดี่ยวที่มีตัวสะกดได้ สระผสมยังต้องบอกว่าเป็นสระอะไรจึงจะสามารถสะกดอ่านได้ (ไม่ชอบสะกดออกเสียง) เมื่ออ่านเรื่องราวแล้วสามารถวิเคราะห์เรื่องที่อ่าน บอกเล่าสาระสำคัญของเรื่องที่อ่านได้ สรุปเรื่องที่อ่านผ่านการพูดเล่าเรื่องได้ รู้จักพยัญชนะทุกตัว สามารถอ่านได้ แต่ยังอ่านสระได้ไม่ครบ(สระผสมยังไม่ได้ เ-าะ เ อือ เอือะ แ – ะ อัวะ เอียะ)
ทักษะด้านการเขียน :  กล้ามเนื้อมือยังไม่แข็งแรง ใช้ข้อมือยังไม่คล่อง ลายมือยังไม่สม่ำเสมอ สามารถสะกดเขียนคำแม่ ก กา สระเดี่ยว สระเดี่ยวที่มีตัวสะกด และคำพื้นฐานที่พบและได้เขียนบ่อยๆด้วยตนเองได้ ยังไม่สามารถเขียนงาน สรุปงาน หรือทำงานด้วยตนเองได้ ต้องมีครูคอยประกบพาทำเดี่ยวๆจึงจะเขียน (เขียนคำศัพท์ตามคำบอกจะเป็นสิ่งเดียวที่ทำเองได้โดยไม่มีครูคอยบอก แต่ครูต้องให้เวลาและกระตุ้นเสริมแรงบ่อยๆยังเขียนตัวหนังสือและตัวเลขบางตัวกลับด้าน( ว   ค   ย  อ เลข 6 เลข 9 เลข 3  เขียนเลขไทยยังไม่ได้ )

ทักษะการคิดและคณิตศาสตร์: สามารถบวกลบเลขหลักสิบ หลักร้อยที่ไม่มีตัวยืม ตัวทดได้ (ใช้การนับนิ้ว แผ่นร้อย แท่งสิบ หน่วยจิ๋ว และอุปกรณ์ช่วย)กระจายตัวเลขหลักต่างๆได้ เข้าใจจำนวน สามารถหยิบออก เพิ่มเข้าได้ คิดชิงวิเคราะห์ ได้(แบบรูปที่ไม่ซับซ้อน) ยังทำงานเองไม่ได้ต้องมีครูคอยประกบ


แบบบันทึกการเรียนรู้และการพัฒนา
 ด.ช.ภค  ไพศาลธนากร  ชื่อเล่น  พี่ปุ๊ปปั๊ป  ชั้น ป.๒ ปีการศึกษา ๒๕๕๘


ปัญหา

-ทำงานด้วยตนเองยังไม่ได้
- ภาษาไทย : อ่าน – เขียน ด้วยตนเองยังไม่คล่อง
- คณิตศาสตร์ บวก ลบ แก้ปัญหาโจทย์ไม่คล่อง

สิ่งที่บ่งบอกว่าเป็นปัญหา (อาการ)
ภาษาไทย
-อ่าน เขียนยังไม่คล่อง (คำที่สะกดตรงมาตรา สระผสม การออกเสียงพยัญชนะ วรรณยุกต์)
คณิตศาสตร์
- การบวก การลบเลขสองหลักยังไม่คล่อง




ต้นทุน











ต้นทุน





เด็ก






ข้อดี








ข้อดี
-จิตใจดี อารมณ์ดี
-เข้ากับผู้อื่นได้ง่าย สนทนาโต้ตอบได้ดี
- คิดวิเคราะห์ เชื่อมโยงได้ ความจำดี
-มั่นใจและมีความคิดเป็นของตนเอง
ภาษาไทย
- รู้จักพยัญชนะ เขียนตามเสียงได้ ออกเสียงได้
- สะกดอ่าน – สะกดเขียนคำแม่ ก กา สระเดี่ยว (อะ อา อี อี  อุ อู ไอ ใอ โอ แอ เอ ออ )สระผสม (สระเอีย สระเอา) เขียนเป็นคำ เป็นประโยค แต่งเรื่องสั้นๆได้ (คำที่อ่านและเขียนบ่อยๆ)
- สนทนา สื่อสารในชีวิตประจำวัน เล่าเรื่องราวต่างๆได้ดี
- สื่อภาษา เชื่อมโยงคำหรือเรื่องราวได้

คณิตศาสตร์
-รู้จักและเขียน อ่านตัวเลขอารบิกได้ครบทุกตัว
- นับเลขต่อเนื่องได้
-รู้ค่าจำนวน อ่าน – เขียนตัวเลขและค่าตัวเลขได้
-บวกเพิ่มเลขหลักหน่วย หลักสิบได้ (ต้องใช้อุปกรณ์ช่วยนับ/นับนิ้ว/เก็บไว้ในใจแล้วนับเพิ่ม)

อุปสรรค

-ชอบพูด เวลาพูดจะไม่ทำงาน
-ไม่จดจ่อกับงาน (ทำงานด้วยตนเองได้ระยะเวลาสั้นๆ)
-ไม่ชอบเขียน
-กล้ามเนื้อมือยังไม่แข็งแรงเขียนได้ไม่นาน (มักบ่นเจ็บนิ้วเวลาเขียน *เคยไปพบหมอๆแนะนำให้ใช้ปลอกยางสวมดินสอแต่ไม่ได้ใช้)


ผู้
ปกครอง
(แม่)

ข้อดี

-ผู้ปกครองมีความสามารถด้านวิชาการ
-มีเวลาดูแล

อุปสรรค
-แม่อารมณ์ร้อน(มักใช้อารมณ์กับลูก)
-คาดหวังต่อลูก
-พ่อทำงานต่างที่ ไม่ค่อยได้กลับบ้าน
วิธีการพัฒนา(กระบวนการ)
-ขั้นตอน
-ระยะเวลา
(Model)

ขั้นตอน
-ครูสำรวจ เช็คสภาพ ต้นทุน
-เรียนรู้ร่วมกับเพื่อนในชั้นเรียน
-วางแผนร่วมกับผู้ปกครอง
-แยกเรียนเฉพาะวิชาพื้นฐาน
      - ภาษาไทย ทุกวัน วันละ ๑ ชั่วโมง
        - ฝึกอ่านหนังสือทุกวันทั้งที่บ้านและโรงเรียน (ใช้หนังสือนิทานที่เพื่อนเรียนในชั้น*เรียนเหมือนเพื่อน)
        - ฝึกเขียน ผ่านการทำแบบฝึกหัด ทั้งที่บ้านและโรงเรียน
  - คณิตศาสตร์ วันละ ๑ ชั่วโมง
      - ค่าตัวเลข (รู้ค่าตัวเลข อ่าน เขียน ได้ถูกต้อง)
        - บวก ลบ เลขสองหลักผ่านการแก้โจทย์ แบบฝึกหัด เกม
ระยะเวลาการพัฒนา
Quarter ๑ ปีการศึกษา (๒๕๕๘)
ผลการพัฒนา 
(ข้อบ่งชี้ว่าคุณลักษณะนั้นๆพัฒนา)

เชิงปริมาณ



เชิงคุณภาพ

ข้อเสนอแนะในการพัฒนาต่อ




แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้

สัปดาห์ที่ ๓ วันที่ ๒๕ – ๒๙ พ.ค. ๒๕๕๘
วัน
ภาษาไทย
คณิตศาสตร์






จันทร์
สระ เอาะ
เป้าหมาย
- นักเรียนรู้จักสระเอาะ
- เข้าใจและสามารถประสมและอ่านคำสระ เอาะได้
กิจกรรม
-ครูทักทายนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับคำสระ โดยการให้ดูสระ เอ สระ อา สระ อะ แล้วยกตัวอย่างคำ
จำนวนและตัวเลข (การบวก การลบเลขหนึ่งและสองหลัก)
- บวกโดยการกระจาย
- ลบโดยการกระจ่าย
เป้าหมาย
- นักเรียนรู้ค่าตัวเลข อ่านค่าและนำไปใช้ได้
- สามารถบวก ลบเลขหนึ่งหลักและสองหลักได้
กิจกรรม
- ทบทวนค่าของตังเลข
- ทำแบบฝึก โดยการกระจาย นักเรียนทำแบบฝึกโดยการบูรณาการเขียนคำอ่านคู่กับตัวเลข







อังคาร
สระ เอาะ
เป้าหมาย
- นักเรียนรู้จักสระเอาะ
- เข้าใจและสามารถประสมและอ่านคำคำสระเอาะได้
กิจกรรม
- ทบทวนสระเอาะ ฝึกอ่าน ฝึกออกเสียง โดยครูและนักเรียนช่วยกันยกตัวอย่างอักษรที่ประสมกับสระเอาะแล้วมีความหมาย
- ผลไม้ที่เป็นสระเอาะ  “เงาะ” นกเรียนเชื่อมโยงคำที่ผสมกับเงาะเป็นแผนภาพความคิด

จำนวนและตัวเลข (การบวก การลบเลขหนึ่งและสองหลัก)
-           บวกโดยการกระจาย
-           ลบโดยการกระจ่าย
เป้าหมาย
- นักเรียนรู้ค่าตัวเลข อ่านค่าและนำไปใช้ได้
- สามารถบวก ลบเลขหนึ่งหลักและสองหลักได้
กิจกรรม
- ทบทวนค่าของตังเลข
- ทำแบบฝึก โดยการกระจาย นักเรียนทำแบบฝึกโดยการบูรณาการเขียนคำอ่านคู่กับตัวเลข







พุธ
การเขียนสร้างสรรค์
เป้าหมาย
-ถ่ายทอดความคิดจินตนาการสร้างสรรค์
กิจกรรม
-ครูวาดภาพบนกระดาน ถามนักเรียน เห็นคำว่าอะไรบ้าง นักเรียนช่วยกันตอบ
-วาดภาพที่สนใจตามจินตนาการ แล้วเขียนคำที่พบในภาพ
-นำเสนอผลงาน
จำนวนและตัวเลข (การบวก การลบเลขหนึ่งและสองหลัก)
-           บวกโดยการกระจาย
-           ลบโดยการกระจ่าย
เป้าหมาย
- นักเรียนรู้ค่าตัวเลข อ่านค่าและนำไปใช้ได้
- สามารถบวก ลบเลขหนึ่งหลักและสองหลักได้
กิจกรรม (ใช้สื่อการนับ)
-หยิบเมล็ดยาง ๑๐ เมล็ด นำเมล็ดยางมาจับคู่๑๐ โดยครูตั้งคำถาม
คำถาม
คู่๑๐ มีคู่ใดบ้าง – จับคู่ได้กี่คู่ – กองละสามเมล็ดได้กี่กอง เหลือเศษเท่าไร – กองละ๔เมล็ดได้กี่กอง เหลือเศษเท่าไร – กองละ๕เมล็ดได้กี่กอง ฯลฯ โดยนักเรียนเป็นผู้หยิบ

พฤหัสบดี
สระ เอาะ
เป้าหมาย
- นักเรียนรู้จักสระเอาะ
- เข้าใจและสามารถประสมและอ่านคำคำสระเอาะได้
กิจกรรม
- ทบทวนสระเอาะ ฝึกอ่าน ฝึกออกเสียง โดยครูและนักเรียนช่วยกันยกตัวอย่างอักษรที่ประสมกับสระเอาะแล้วมีความหมาย
- แต่งประโยคจากภาพที่วาดไว้โดยใช้คำสระ เอาะ (นักเรียนเลือกคำเอง๕คำ)
จำนวนและตัวเลข (การบวก การลบเลขหนึ่งและสองหลัก)
-           บวกโดยการกระจาย
-           ลบโดยการกระจ่าย
-           โจทย์ปัญหา
เป้าหมาย
- นักเรียนรู้ค่าตัวเลข อ่านค่าและนำไปใช้ได้
- สามารถบวก ลบเลขหนึ่งหลักและสองหลักได้
- นักเรียนเข้าใจและสามารถวิเคราะห์ และแก้โจทย์ปัญหาได้
กิจกรรม
-ทบทวนค่าของตัวเลขจากตาราง ๑๐๐
-วิเคราะห์แก้โจทย์ “ปีนี้เดือนมีนาคมกับเดือนเมษายนรวมกัน มีจำนวนวันมากกว่าเดือนกุมภาพันธ์ ๓๓ วัน ปีนี้เดือนกุมภาพันธ์มีกี่วัน









ศุกร์
สระ เอาะ
เป้าหมาย
- นักเรียนรู้จักสระเอาะ
- เข้าใจและสามารถประสมและอ่านคำคำสระเอาะได้
กิจกรรม
- ทบทวนสระเอาะ ฝึกอ่าน ฝึกออกเสียง โดยครูและนักเรียนช่วยกันยกตัวอย่างอักษรที่ประสมกับสระเอาะแล้วมีความหมาย
- แต่งเรื่องสร้างสรรค์โดยใช้คำสระ เอาะ (นักเรียนเลือกคำเอง๕คำ)
จำนวนและตัวเลข (การบวก การลบเลขหนึ่งและสองหลัก)
-           บวกโดยการกระจาย
-           ลบโดยการกระจ่าย
-           โจทย์ปัญหา
เป้าหมาย
- นักเรียนรู้ค่าตัวเลข อ่านค่าและนำไปใช้ได้
- สามารถบวก ลบเลขหนึ่งหลักและสองหลักได้
- นักเรียนเข้าใจและสามารถวิเคราะห์ และแก้โจทย์ปัญหาได้
กิจกรรม
-ทบทวนค่าของตัวเลขจากตาราง ๑๐๐
-ฝึกการตั้งโจทย์
คำถาม
-คำตอบคือ ๔๕ จะสร้างโจทย์ปัญหาอย่างไร
-คิดและสร้างโจทย์เอง


ตัวอย่างกิจกรรมและชิ้นงาน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น